วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Model KM

ตัวอย่างโมเดล KM


ตัวอย่างโมเดล KM

โมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ




๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร


๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม



๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

ความหมายของ KM

การจัดการความรู้ ( Knowledge Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า KM ถือเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายยอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน ( Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรู้ จึงเป็นการบริหารจัดการเพื่อให้ คน ที่ต้องการใช้ความรู้ได้รับความรู้ที่ต้องการใช้ในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงาน หรือการดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจายฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กรออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่มจัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

การจัดการความรู้ที่ดีจะช่วยให้องค์กร
1. สร้างนวัตกรรม โดยการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
2. เพิ่มคุณภาพการบริการ
3. ลดอัตราการลาออก โดยการให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงาน
4. ลดเวลาการบริการและลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
5. ปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร

ประโยชน์ของการจัดการความรู้ได้ 8 ประการ ดังนี้
1. ป้องกันความรู้สูญหาย : การจัดการความรู้ทำให้องค์การสามารถรักษาความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และความรู้ที่อาจสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร เช่น การเกษียณอายุทำงาน หรือการลาออกจากงาน ฯลฯ
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ : โดยประเภท คุณภาพ และความสะดวกในการเข้าถึง ความรู้ เป็นปัจจัยของการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น : การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน : การจัดการความรู้ช่วยให้องค์การมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้
5. การพัฒนาทรัพย์สิน : เป็นการพัฒนาความสามารถขององค์การในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ เป็นต้น
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์ : การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อีกด้วย
7. การบริหารลูกค้า : การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้แก่องค์การ
8. การลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ : การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการด้านเอกสาร การจัดการกับความไม่เป็นทางการเพิ่มความสามารถให้แก่องค์การในการจังและฝึกฝนบุคลากร

Davenport and Prusak (1998) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงาน สำหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทที่1

บูรณาการระหว่างศาสตร์ 3 ศาสตร์ คือ

1. IT

2. Innovation


3. KM


เกิดจากการบูรณาการทั้ง 3 ศาสตร์ เข้าด้วยกันทั้ง Innovation , Techrology และ KM


KM : Knowlfdge Managmenent ซึ่งนำมาใช้ในหน่วยงานซึ่งในหน่วยงานนั้นๆก็จะมีตั้งแต่ฐานพนักงานไปจนถึงระดับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรก็หวังจะให้องค์กรดำเนินการหรืออยู่รอด ซึ่งก็คือ HPO : Performamce organization คือ องค์กรมีประสิทธิภาพสูงองกรณ์จะอยู่ได้หรือดำรงค์อยู่ได้และเมื่อเกิดการแข่งขันก็จะได้เปรียบทางการแข่งขันยกตัวอย่างเช่น

ผู้ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต หรือ ISP ก็จะมีหลายค่ายด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีการแข่งขันกันทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าค่ายไหนองค์กรไหนจะมีจุดขายตรงไหน หรือการจัดการความรู้ในลักษณะชุมชนนักปฎิบัติ COP : Commuruty of practice

พีระมิดแสดงลำดับข้อมูล ก็จะมีดังนี้
ข้อมูล (Data) เกิดจากทักษะ
สารสนเทศ (Information) การนำข้อมูลที่เกิดจากทักษะมาทำการวิเคราะห์
ความรู้ (Knowfedge) จากการวิเคราะทำให้เกิดความรู้
ปัญญา(Wisdom) ซึ่งเป็นลำดับสูงสุดคือได้รับผล

ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าแห่งหนึ่ง มีการเก็บข้อมูลการซื้อสินค้า ของลูกค้าใจช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ได้จากการจัดเก็บเป็นข้อมูล เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาซื้อขอขวัญ มักจะซื้อบัตรอวยพรควบคู่ไปด้วยเสมอ จึงนำสินค้ามาวางขายคู่กันเพื่อเพิ่มยอดขาย

ข้อมูล (Facts) อาจจะหมายถึงข้อเท็จจริง ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่ก็ได้ อาจจะไม่ได้เป็นจริงเสมอไป
ความรู้ มี 2 ประเภท ผู้ที่ให้ความหมายคือ Choo เมื่อปี 2000 โดยให้ความหมายไว้คือ
ความรู้ประเภทที่ 1 คือความรู้โดยนัย (มองเห็นไม่ชัดแจ้ง) โดยเป็นความรูที่ได้จากประสบการณ์ ความเชื่อ ซึ่งความรู้ประเภทนี้คิดเป็นเปอร์เซ็นได้ถึง 80 %

ความรู้ประเภทที่ 2 คือความรู้ที่ชัดแจ้ง (ความรูที่เป็นทางการ) โดยเป็นความรู้ที่สามารถหาซื้อหรือหาอ่านได้ เช่น ในตำราต่างๆ ซึ่งความรู้ประเภทนี้คิดเป็นเปอร์เซ็นได้ถึง 20 %

ความรู้ของมนุษย์เปรียมเสมือนก้อนน้ำแข็ง คือ ส่วนที่ลอยเหนือน้ำจะเป็นความรูที่ชัดแจ้งและสวที่ส่วนที่จมน้ำเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit knowlodge) ซึ่งก็แบ่งได้ คือ อธิบายไม่ได้ และ อธิบายได้แต่ไม่อยากอธิบาย

เกลียความรู้ ก็แบ่งได้ดังนี้
1. คน ----------------------------- คน
2. คน ----------------------------- สื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ------------------ คน
4. สืออิเล็กทรอนิกส์ ------------------ สื่ออิเล็กทรอนิกส์

การแบ่งประเภทของความรู้ออกเป็นลักษณะความต่างๆ
1. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Cvltural Khowledge) ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การเฝ้าสังเกตุ
2. ความรู้ที่แฝงอยู่ในองค์กร (Embedded Khowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากวิธีการทำงาน จากการทำคู่มือการทำงาน มี 4 ประเภท คือ
1. จำแนกตามแหล่ง แบ่งได้เป็น ภายใน และ ภายนอก
2. จำแนกตามเวลา แบ่งได้เป็น ความรู้ที่เป็นปัจจุบันปละความรู้ในอนาคต
3. จำแนกตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น นัย และ ชัดแจ้ง
4. จำแนกตามเจ้าของ แบ่งได้เป็น บุคคล (Private) และ สาธารณะ ( Common)


กระบวนการจัดการความรู้

ตัวอย่างเช่น เอลลาวี (Alavi);1997
1. ความรู้ที่จะได้มาต้องมีการแสวงหา การแสวงหาความรู้ใช้หลักหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ คือ ฟัง คิด ถาม จด
2. การสร้างดรรชนี
3. การกลั่นกรอง
4. การเชื่อมโยง
5. การเผยแพร่
6. ประยุกต์ใช้